โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เกิดจากการที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนัก และเกิดการแตกหักตามมา โรคนี้จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายโดยที่อาจเกิดกระดูกหักเองหรือเกิดแรงกระทำที่ไม่รุนแรงเช่น หกล้มขณะยืนหรือเดิน

โรคกระดูกพรุน

สาเหตุโรคกระดูกพรุน

– พันธุกรรมหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อายุมากขึ้น กระดูกจะบางลงจากฮอร์โมนเพศที่น้อยลง เช่น กระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

– เกิดจากโรคหรือยาบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด (Aromatase Inhibitor) และอื่น ๆ

อาการของโรคกระดูกพรุน

– ระยะเริ่มต้น โรคนี้ในช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไร จะแสดงอาการต่อเมื่อกระดูกหักไปแล้ว ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจมวลกระดูก หรือคำนวณความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก

– ระยะรุนแรง ระยะนี้กระดูกของผู้ป่วยจะบางมาก อาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหักยุบ หรือเกิดกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม ส่วนสูงลดลงเนื่องจากการหักและยุบตัวของกระดูกสันหลัง บางครั้งอาจเกิดการปวดหลังร้าวมาที่บริเวณหน้าอก เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน

– ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป

– ผู้หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ เช่น ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุุ 45 ปี ผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางอายุรกรรม คนที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน หรือได้ยา Aromatase Inhibitor

– ผู้ชายที่มีโรคหรือได้ยาที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เช่น จากการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โรคพันธุกรรมที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำ เช่น Klinefelter’s Syndrome

– ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่า Prednisolone 5 มิลลิกรัม/วัน ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

– มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง

– น้ำหนักตัวน้อยมาก คือ ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร

– ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่ กินแคลเซียมไม่เพียงพอ วิตามินดีในเลือดต่ำ ไม่ออกกำลังกาย

อันตรายของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน หมายถึง โรคที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเหตุที่อุบัติเหตุเล็กน้อยก็อาจจะทำให้กระดูกหักได้ ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ถ้าเป็นปกติโดยทั่วไปเดินหกล้มบนพื้นราบธรรมดา เราไม่เป็นอะไร อย่างมากเราอาจจะข้อเท้าพลิก เจ็บมือนิดหน่อย เอามือยันพื้นได้ แต่กลุ่มคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน เราลื่นล้มบนพื้นราบ ก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหักได้ มือยันพื้น ข้อมือหัก สะโพกกระแทกพื้น สะโพกหัก นี่คือความอันตรายของโรคกระดูกพรุน

การรักษา และการดูแลตัวเอง

โรคกระดูกพรุนเป็นโรค เราต้องรักษา การรักษาก็จะเป็นการรักษาด้วยยา เพราะฉะนั้น การกินยา หรือบางท่านจะเลือกใช้วิธีฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุน เราก็ควรจะไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและกินยาอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา

rama.mahidol.ac.th

bangkokhospital.com

 ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ cornerstoneumcwat.com