ระเบิดขวด คือ ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด ในภาวะสงครามห้องทดลองวิทยาศาสตร์ หรือโรงฝึกงานอาจถูกดัดแปลงใช้เป็นที่ผลิตระเบิดขวด หรือผลิตอาวุธบางอย่าง ในปัจจุบันยังมีวัยรุ่นบางกลุ่มที่ทำขึ้นมาใช้ปาใส่คู่อริ จนเกิดเหตุการณ์คนได้รับบาดเจ็บ

ระเบิดขวด วัยรุ่นฮิตทำ เจออริปาใส่กัน ตาวัย 69 พาหลาน 2 คนซ้อนท้ายโดนลูกหลงหวิดดับ

ระเบิดขวด มีเหตุวัยรุ่นปาใส่คู่อริ ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านที่ ต.สะเดา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ว่ากำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย หลังจากวัยรุ่นในพื้นที่มักจะขว้างปาระเบิดใส่กันโดยไม่สนว่าใครจะได้รับอันตราย และมีเด็กในหมู่บ้านถูกลูกหลงแล้ว

โดยเฉพาะชาวบ้านจอมปราสาท หมู่ 17 ต.สะเดา อ.นางรอง อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากวัยรุ่นกำลังนิยมทำระเบิดกันเองแล้วเอามาเป็นอาวุธขว้างปาใส่คู่อริ มีชาวบ้านได้ยินเสียงระเบิดเป็นประจำในเวลากลางคืน

ผู้เสียหายจากเหตุการณ์

นายชาญอายุ 69 ปี บ้านจอมปราสาท หมู่ 17 ต.สะเดา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เล่าว่า เมื่อตอนเย็นวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้พาหลานวัย 7 ปีและ 9 ปี นั่งซ้อนรถจักรยานยนต์ขับไปตามถนนกำลังจะกลับบ้าน

เมื่อมาถึงถนนกลางหมู่บ้าน เห็นวัยรุ่นสองกลุ่มๆ ละประมาณ 4 คน ขับรถจักรยานยนต์ทั้งหมด บางคนแบกด้ามจอบ บางคนถือมีด แต่ไม่ได้สนใจเพราะไม่ใช่เรื่องของตน จึงรีบขับรถจะกลับบ้าน ทันใดนั้นได้ยินเสียงระเบิดเสียงดังสนั่น และได้ยินหลาน 7 ขวบร้องเสียงดังขึ้นมาว่า ”โอ้ย”

เมื่อขับรถไปถึงบ้านหลานบอกว่าเจ็บมือซ้าย จึงเอามาดูพบว่าหลังมือพบเป็นรอยเหมือนสะเก็ดระเบิด แต่ไม่เป็นแผลฉกรรจ์ เป็นเพียงรอยจุดๆจ้ำๆเล็กน้อย จึงเชื่อว่าเป็นสะเก็ดระเบิดอย่างแน่นอน ครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่หลานอยู่ห่างจากรัศมีสะเก็ดระเบิดจึงไม่เป็นอันตรายถึงเลือดตกยางออก

เช่นเดียวกับนางสาวพนม อายุ 49 ปี  ชาวบ้านหมู่บ้านเดียวกัน เล่าว่า คืนเกิดเหตุหลานอายุ 6 ขวบ กำลังทำการบ้านอยู่ในบ้าน พอได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่น หลานตกใจแล้วบอกกับตนว่า “หายใจไม่ออก” จึงรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะหลานได้ยินเสียงดังไม่ได้มักจะมีอาการหายใจไม่ออก หอบและหัวใจเต้นเร็ว จึงอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตำรวจเร่งมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน เนื่องจากวัยรุ่นในเขต อ.นางรอง กำลังนิยมทำระเบิดขวดกันเองแล้วเอามาขว้างปาใส่กัน หากปล่อยเอาไว้อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดได้

ระเบิดขวด Molotov Cocktail อาวุธบ้านๆ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ ‘การต่อต้าน’

แทบทุกการประท้วงย่อมมีการปะทะ และทุกการปะทะย่อมมี ‘โมโลตอฟ ค็อกเทล’ (Molotov cocktail) เป็นตัวชูโรง และนี่เป็นอาวุธยอดฮิตที่ชาวยูเครนใช้ต่อต้านทหารรัสเซียที่บุกเข้ามาในแต่ละเมืองตั้งแต่การรุกรานเริ่มขึ้นเช่นกัน

ระเบิดขวดสามารถทำเองโดยไม่ยาก (เราไม่ได้จะแนะนำให้ทำ และจะไม่บอกวิธีการทำโดยละเอียดด้วย) แต่เพียงแค่มีขวดแก้ว น้ำมันก๊าดหรือสารเคมี และเศษผ้าสำหรับทำเป็นชนวน เท่านี้ก็ใช้งานได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนประกอบทุกอย่างสามารถหาได้ในครัวเรือนทั้งนั้น) ถ้าจะย้อนประวัติกันจริงๆ อาวุธพื้นบ้านสำหรับต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐนี้มีที่มายาวนานไม่น้อย

ชาวไอริชและกลุ่ม IRA เองก็รู้จักประดิษฐ์เพื่อต่อกรกับทหารอังกฤษมาตั้งแต่ช่วงสงครามประกาศอิสรภาพไอร์แลนด์ในปี 1922 แต่สงครามที่มีการใช้เป็นวงกว้างก็คงเป็นสงครามกลางเมืองสเปนระหว่างปี 1936-1939

ฝ่ายรัฐบาลสาธารณรัฐได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต นั่นทำให้พวกเขาได้รับรถถังเบาโซเวียตมาใช้ในพื้นที่เมืองเป็นจำนวนมาก ส่วนฝ่ายชาตินิยมต้องหาวิธีรับมือกับรถถังด้วยการใช้ระเบิดขวดเนื่องจากอาวุธชนิดนี้ไม่เปลืองพื้นที่เท่าปืนต่อต้านรถถัง และพกพาได้ง่าย

รถถังที่โดนระเบิดขวดขว้างใส่ต้องทนกับไอและความร้อนที่ทำให้ภายในตัวรถแทบจะเป็นเตาอบ ส่วนตีนตะขาบที่มียางผสมก็ละลายจนตัวรถเคลื่อนที่ได้ลำบาก คนขับและพลรถถังที่ทนไม่ไหวจึงต้องเลือกระหว่างถูกย่างสดหรือไม่ก็ออกมาเสี่ยงตายข้างนอกแทน

ฝ่ายสาธารณรัฐพบว่ารถถังของตนถูกทำลายอย่างง่ายดายด้วยอาวุธชนิดนี้ จึงหันมาใช้เพื่อตอบโต้รถถังฝ่ายชาตินิยมบ้าง และนี่ทำให้สงครามกลางเมืองสเปนเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ระเบิดขวดไปโดยปริยาย

ระเบิดขวด

สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ

ส่วนจุดเริ่มต้นของชื่อ ‘โมโลตอฟ ค็อกเทล’ ก็มาจากช่วงเดียวกันในปี 1939 เมื่อสหภาพโซเวียตกับนาซีเยอรมนีทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันในชื่อ ‘สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ’ (Molotov-Ribbentrop Pact) ตามชื่อรัฐมนตรีทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศคือ วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ (Vyacheslav Molotov) และ โยอาคิม ฟอน ริบเบินทร็อพ (Joachim von Ribbentrop)

ตามสนธิสัญญานี้ทั้งโซเวียตกับเยอรมนีจะแบ่งเขตปกครองในยุโรปกัน ซึ่งโซเวียตก็ยกทัพเข้ารุกรานประเทศฟินแลนด์ที่อยู่ในเขตอิทธิพลของตนทันที สงครามครั้งนี้มีชื่อว่า ‘สงครามฤดูหนาว’ (Winter War)

ก่อนที่ทหารโซเวียตจะเข้าโจมตีจุดหนึ่ง พวกเขามักจะทิ้งระเบิดลูกปราย (Cluster bomb) เพื่อเคลียร์ทางก่อน แล้วค่อยส่งทหารเข้าโจมตี โดยหลังจากทิ้งระเบิดลงไป นายโมโลตอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียต มักจะประกาศทางวิทยุโดยอ้างว่าระเบิดที่โซเวียตหย่อนลงไปแท้จริงแล้วเป็นแค่เสบียงสำหรับช่วยเหลือชาวบ้านท้องถิ่นเท่านั้นเพื่อไม่ให้โดนประชาคมโลกประณาม

ทหารฟินแลนด์ที่ได้เห็นฤทธิของระเบิดดังกล่าวจึงตั้งชื่อเล่นให้มันว่า ‘ตะกร้าปิกนิกของโมโลตอฟ’ (Molotov’s picnic basket) และวิทยุโต้ตอบฝ่ายโซเวียตว่าพวกเขาก็มี ‘ค็อกเทลของโมโลตอฟ’ (Molotov cocktails) ไว้ตอบแทนทหารโซเวียตเช่นกัน และค็อกเทลที่ว่านี้ก็คือระเบิดขวดนั่นเอง

เนื่องจากกองทัพฟินแลนด์รู้ดีว่าฝ่ายโซเวียตมักใช้รถถังทะลวงแนวก่อน และรถถังของโซเวียตก็ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน (gasoline) ซึ่งไวไฟมาก จึงเป็นอาวุธง่าย ๆ ที่โต้ตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐบาลฟินแลนด์จึงมอบหมายให้บริษัท อัลโค (Alko) รัฐวิสาหกิจด้านสุรารายใหญ่ของประเทศ เป็นผู้ผลิตโมโลตอฟ ค็อกเทลจากโรงงานเพื่อแจกจ่ายให้ทหารฟินแลนด์ และทหารฟินแลนด์ก็ได้ใช้ปราบรถถังโซเวียตไปครั้งแล้วครั้งเล่า คาดการณ์ว่าฝ่ายฟินแลนด์ใช้ระเบิดขวดไปกว่าครึ่งล้านขวดตลอดสงคราม

แม้โซเวียตจะชนะสงคราม แต่พวกเขาก็สูญเสียไปมากกว่าฝ่ายฟินแลนด์ถึง 5 เท่า ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้กลายเป็นอาวุธสำรองของทหารที่ทำการรบในเขตเมือง ชื่อเล่นใหม่สุดเท่ของมันก็ได้รับความนิยมยิ่งกว่าชื่อสามัญอย่าง petrol bomb หรือ gasoline bomb เสียอีก

หลังสงครามสงบ โมโลตอฟ ค็อกเทลก็ได้กลายมาเป็นอาวุธของประชาชนทั่วไปที่ไม่สามารถหาอาวุธปืนมาต่อกรกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ มันยังเป็นอาวุธที่ตำรวจปราบจลาจลต้องครั่นคร้าม และกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงอำนาจรัฐไปโดยปริยาย

ชาวยูเครนหันมาประดิษฐ์ ระเบิดขวด ใช้ในยามสงครามอีกครั้ง

ดังที่เหล่ากบฏ นักรบและผู้ประท้วงในหลากหลายเหตุการณ์ทั่วโลกเคยใช้ในการต่อสู้ของพวกเขา พื้นที่ในหลายๆ เมืองของยูเครนกลายเป็นพื้นที่สำหรับการประดิษฐ์ ระเบิดขวด ชาวยูเครนบางรายลงมือประดิษฐ์และกักตุนในบ้านของตัวเอง ลานหญ้าในเมืองดนีปรอและลานจัดปาร์ตี้กลางแจ้งในเมืองลวีฟกลายเป็นที่ที่ชาวเมืองรวมพลกันผลิตอาวุธที่พวกเขาจะต้องใช้ในการต่อต้านการบุกรุกของทหารรัสเซียที่ยังคงดำเนินการอยู่ ณ เวลานี้

“มันเหมือนจะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องเดียวในตอนนี้นะ” คุณครูชาวยูเครนท่านหนึ่งกล่าว

ระเบิดขวด หรือที่นิยมเรียกในภาษาอังกฤษว่า “โมโลทอฟ ค็อกเทล” (Molotov cocktail) เป็นอาวุธที่หาง่ายและผลิตง่าย โดยวัตถุดิบหลักมีแค่ขวดแก้วเติมด้วยเชื้อเพลิงที่ไวไฟ ความง่ายในการผลิตทำให้เป็นอาวุธที่นิยมใช้ในการต่อสู้ โดยเฉพาะในการต่อสู้ของคน “เบี้ยล่าง” ต่ออำนาจที่เหนือกว่า ดังที่ชาวยูเครน เหล่ากบฏ นักรบและผู้ประท้วงในหลากหลายเหตุการณ์ทั่วโลกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาใช้ในการต่อสู้ของพวกเขา

หนึ่งในสงครามสำคัญที่เริ่มมีการใช้ระเบิดขวดคือสงครามสเปนปี ค.ศ. 1936 ถึง 1939 สงครามสเปนเป็นสงครามระหว่างกลุ่มนิยมสาธารณรัฐและกลุ่มกบฏชาตินิยม เป็นอาวุธที่ทหารกบฏใช้ต่อสู้กับรถถังของรัฐบาลสเปนที่รับมาจากสหภาพโซเวียต นายพลชาวอังกฤษเล่าว่า รถถังกว่า 9 คันถูกทำลายด้วยระเบิดบ้านๆ เหล่านี้ และไม่นานทหารของฝั่งรัฐบาลก็เริ่มใช้ระเบิดขวดด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ

จุดเริ่มต้นของระเบิดขวด โมโลทอฟ ค็อกเทล

จุดเริ่มต้นของการเรียก ระเบิดขวด ว่า “โมโลทอฟ ค็อกเทล” (Molotov cocktail) เกิดขึ้นในสงครามฤดูหนาวซึ่งเป็นการรุนรานประเทศฟินแลนด์ของกองทัพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939 กองทัพโซเวียตใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มเมืองในฟินแลนด์ แต่ ”วยาเชสลาฟ มิไคโลวิตช์ โมโลทอฟ” (Vyacheslav Mikhaylovich Molotov) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของโซเวียตพยายามกลบเกลื่อนการโจมตีโดยอ้างว่าเครื่องบินของกองทัพโซเวียตนั้นช่วยทิ้งเสบียงอาหารให้ ไม่ใช่ทิ้งระเบิด ชาวฟินแลนด์จึงเรียกการทิ้งระเบิดอย่างประชดประชันว่าเป็น “ตะกร้าขนมปังของโมโลทอฟ” (Molotov’s bread baskets) ทหารฟินแลนด์จึงเรียกระเบิดขวดที่ใช้ในการต่อสู้กับโซเวียตว่า “โมโลทอฟ ค็อกเทล” เพื่อเปรียบเทียบว่าเป็นเครื่องดื่มควบคู่กับ “ตะกร้าขนมปังของโมโลทอฟ” ชื่อโมโลทอฟ ค็อกเทลกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว

ระเบิดขวดกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สหราชอาณาจักรใช้ในการเตรียมรับมือภัยคุกคามจากนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังพิทักษ์บ้านเมืองหรือ “Home Guard” ซึ่งเป็นกองกำลังของผู้สูงวัยถูกฝึกด้วยวีดิโอสาธิตวิธีรับมือรถถังด้วยการสร้างสิ่งกีดขวางและถล่มรถถังด้วยระเบิดขวด

ในปี ค.ศ. 1940 นิตยสาร Picture Post ของอังกฤษเผยแพร่คู่มือการทำและใช้ ซึ่งเขียนโดยคุณทอม วินทริงแฮม (Tom Wintringham) นายทหารผ่านศึกสงครามสเปน นอกจากนี้ยังมีการผลิต “ระเบิดไฟโมเดล 76” (model 76 grenade) กว่าหกล้านลูกเพื่อนำไปซ่อนไว้ทั่วสหราชอาณาจักรสำหรับเตรียมรับมือภัยคุกคาม จนในปัจจุบันล่าสุดในปี ค.ศ. 2018 ยังคงมีการค้นพบที่ซ่อนของระเบิดเหล่านี้อยู่

หลังสงครามโลก ระเบิดขวดก็ยังเป็นอาวุธสำคัญในการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ซึ่งชาวฮังการีทั่วประเทศลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลโซเวียตในช่วงหลังสงครามโลก รถถังโซเวียตกว่า 400 คันถูกทำลายก่อนที่การปฏิวัติจะถูกปราบลง

 

นับแต่นั้น ระเบิดขวดยังคงเป็นอาวุธต่อสู้ของผู้ประท้วงต่ออำนาจที่เหนือกว่าอยู่เรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ผู้ต่อต้านทหารอิสราเอล การต่อสู้ของขบวนต่อต้านชาห์การปฏิวัติอิหร่าน การต่อสู้ของทหารซานดินิสตาในนิการากัว การต่อสู้ของชาวเชโกสโลวาเกียกับการรุกรานสหภาพโซเวียตและพันธมิตรวอร์ซอในช่วง “ปรากสปริง” (Prague Spring) จนไปถึงการประท้วงในฮ่องกงช่วงที่ผ่านมา และวันนี้ถูกใช้ในการต่อสู้ของชาวยูเครนต่อรัสเซีย และคงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่รถถังรัสเซียต้องตกเป็นเป้าหมายระเบิดขวด

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  cornerstoneumcwat.com

สนับสนุนโดย  ufabet369